รัฐบาลถังแตก ตอนที่ 2

Tue, May 23, 2006

English | ทักษิณ

รัฐบาลถังแตก ตอนที่ 2

คลิ้กเพื่ออ่าน รัฐบาลถังแตก ตอนที่ 1

วันที่ :23 พฤษภาคม 2549

สองสามเดือนที่ผ่านมา คนนินทารัฐบาลรักษาการของคุณทักษิณกันมาก ลือกันให้แซดว่ารัฐบาลถังแตก เพราะเมื่อถึงเวลาที่รัฐบาลต้องจ่ายเงินเดือนลูกจ้าง ก็ไม่จ่าย ครบกำหนดงวดเงินที่ต้องจ่ายผู้รับเหมา ก็ทำไม่รู้ไม่ชี้ รอกันนานเป็นเดือน บางราย 3-4 เดือนแล้ว ยังไม่เห็นมีท่าทีว่าจะดีขึ้น

ถ้า ใช้นิยามคำว่ารัฐบาลถังแตก แบบที่ผมเล่าให้ฟังเมื่อวันก่อน แปลความได้ว่าตอนนี้เงินคงคลังเป็นตัวแดง เงินไม่มี เงินหมด รายได้ ไม่ทันรายจ่าย แถมไม่ได้เตรียมกู้ไว้ล่วงหน้า บริหารเงินสดหมุนเวียนไม่เป็น ไม่มีการวางแผนการใช้จ่ายแบบมืออาชีพ ใครที่ไม่ชอบรัฐบาลอยู่แล้วก็จะโวยวายเลยว่ารัฐมนตรีคลังไม่เป็นสัปปะรด รายได้จากการจัดเก็บภาษีมีมากกว่ารายจ่ายอยู่แล้ว ปล่อยให้เหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นได้อย่างไร นินทากันหูอื้อละครับ

แล้วความจริงเป็นอย่างไร ?

ต้อง ดูกันที่ตัวเลข มีไม่กี่รายการหรอกครับ ต้องเริ่มต้นที่วันแรกที่คุณทักษิณรับอาสาบริหารประเทศกันเลย แล้วไล่กันไปทีละปีก็จะเข้าใจครับ

รัฐบาลคุณทักษิณเป็นรัฐบาลแรกที่ได้มีโอกาสรับผิดชอบจัดงบประมาณแผ่นดิน ติดต่อกันถึง 5 ปี คือปีงบประมาณ 2545 – 2549 และในระหว่างปีงบประมาณ ตลอดระยะเวลา 5 ปีนั้น ยังมีการจัดงบประมาณกลางปีถึง 2 ครั้ง คือในปี 2548 และปี 2549

ที่ ผมกล่าวมาตั้งแต่แรกว่า เงินคงคลังคือตัวชี้วัดว่ารัฐบาลถังแตกหรือไม่ เพราะเงินคงคลังแท้ที่จริงก็เปรียบได้ว่าเป็นเงินออมของประเทศนั่นเอง ว่าตามหลักทฤษฏีนะ ปฏิบัติจริงไม่ใช่

เมื่อจะวิเคราะห์ว่ารัฐบาลมีเงินสำหรับใช้จ่ายจริงหรือไม่ ต้องดูกันที่เงินคงคลัง

สิ้นปีงบประมาณ 2544 มีเงินคงคลังจ่ายในมือที่ 76,402 ล้านบาทครับ

การ จัดงบประมาณ 3 ปีแรกของรัฐบาลคุณทักษิณ เป็นการจัดงบประมาณแบบขาดดุลตลอดทั้ง 3 ปี แปลว่าเก็บภาษีได้เท่าไหร่ ไม่เคยพอใช้ต้องกู้ทุกปี

สิ้นปีงบประมาณ 2547 มีเงินคงคลังอยู่ในมือที่ 153,242 ล้านบาท

งงไหมครับ? ถ้าต้นปี 2544 มีเงินในกระเป๋า 76,402 ล้านบาท 3 ปีให้หลังเงินออมเพิ่มเป็น 153,242 ล้านบาท เป็นไปได้อย่างไร เพราะตลอด 3 ปีไม่เคยมีเงินเหลือใช้ในแต่ละปีเพราะต้องกู้เพิ่มทุกปี

ตรงนี้แหละครับคือปัญหา เพราะ เงินคงคลังที่ว่าเป็นเงินออม ตามทฤษฎีนั้นจริง ๆ แล้วไม่ใช่ ในการปฏิบัติเป็นเพียงเงินในกระเป๋าคงค้างอยู่เท่านั้น เวลารัฐไปกู้เงินมามาก ๆ แล้วใช้ไม่ทัน เงินเหลือ ก็กองไว้ตรงนี้แหละครับ นำเงินกู้มาเป็นเงินคงคลัง

แสดงว่าตัวเลขเงินคงคลังแท้จริงมีการบิดเบือนใช่หรือไม่? ถูกต้องที่สุดครับ

แล้วในระบบของเรา จะมีทางรู้หรือไม่ว่าเงินคงคลังหรือเงินออมมีเหลือจริง มีเท่าใด ใครตอบได้ บอกได้เลยว่า ตรงนี้ไม่มีคำตอบ

ดูต่ออีกนิดหนึ่งครับ คือปี 2548 และปี 2549 ทั้งสองปีงบประมาณ น่าสนใจ เนื่องจากรัฐบาลจัดงบประมาณแบบสมดุลไม่มีการกู้

สิ้นปีงบประมาณ 2549 คาดว่าจะมีเงินคงคลังเหลือประมาณ 100,000 ล้านบาท

แปลก ดี สองปีหลังรัฐบาลไม่ต้องกู้เพิ่มเพราะเก็บเงินภาษีได้มาก แต่เงินคงคลังอาจหายไปถึง 50,000 ล้านบาท ( อย่าลืมว่า สิ้นปี 2547 มีเงินคงคลัง 153,242 ล้านบาท )

แต่อย่างน้อยอ่านได้ว่า ปี 2549 ไม่น่ามีปัญหาว่ารัฐบาลถังแตก เพราะเงินคงคลังยังเป็นตัวดำ ใช่หรือไม่?

ถูก แต่ไม่ทั้งหมด เพราะปรากฏว่าช่วงต้นปีรายได้จากการเก็บภาษี เข้าช้า ขณะที่รัฐบาลเร่งรัดการจ่ายเงินให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น พูดง่าย ๆ ทำโครงการเร็วขึ้น เบิกเงินเร็วขึ้น ทำให้รัฐบาลหมุนเงินไม่ทัน

ฟัง ดูแล้วรัฐบาลคงจะไม่ถังแตกตามที่นินทากัน เพียงแต่บกพร่อง ไม่วางแผนการใช้จ่ายเงินแบบนักบริหารที่ดี ปัญหาทั้งหมด ถึงวันนี้ คงจะหมดไปแล้ว

อาจใช่ครับ แต่ผมมีข้อมูลที่น่าสนใจจะเล่าให้ฟังต่ออีกใน 2-3 วันนี้ครับ.

คลิ้กเพื่ออ่าน รัฐบาลถังแตก ตอนที่ 3

Click to Download Printer Friendly Version

แบ่งปันเรื่องราว:
  • Print
  • del.icio.us
  • Facebook
  • email
  • PDF
  • Twitter

Tags:

Comments are closed.

Twitter

TwitPic

    " width="70" height="70" style="margin: px; border: 1px solid cccccc;" class="twitpic" />

กอร์ปศักดิ์ สภาวสุ

กอร์ปศักดิ์ สภาวสุ
Korbsak.com
กอร์ปศักดิ์ สภาวสุ
เลขาธิการนายกรัฐมนตรี

ค้นหา