ปกป้องค่าเงิน ทำไมต้องขาดทุน

Wed, Feb 28, 2007

English | เศรษฐกิจ

ปกป้องค่าเงิน ทำไมต้องขาดทุน

วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2550

ตัวเลขออกมาแล้วครับ 170,000 ล้านบาท เป็นตัวเลขผลขาดทุนทางบัญชีของธนาคารแห่งประเทศไทย สำหรับปี พ.ศ. 2549 อยาก รู้ว่าเงินจำนวนนี้มากแค่ไหน เปรียบได้ว่าเงินนี้มากพอที่จะนำไปใช้ในการสร้างอาคารพักผู้โดยสารของสนาม บินสุวรรณภูมิใหม่ และ ถ้าไม่มีการโกงกิน น่าจะมีเงินทอนเหลือพอที่จะสร้างรถไฟฟ้าใต้ดินเพิ่มได้อีกหนึ่งสาย

อ่านข้อสรุปท้ายการชี้แจงของธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ แล้วน่าใจหายครับ

“ผลการขาดทุนดังกล่าวไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายแต่อย่างใด ธปท. ยังคงสามารถทำหน้าที่ในการดูแลเสถียรภาพทางการเงินได้ต่อไป ”

แน่ใจและมั่นใจใช่ไหมครับ

การขาดทุนที่เกิดจากผลของนโยบายปกป้องค่าของเงินบาทหรือนโยบายดูแลอัตราแลก เปลี่ยนไม่ใช่สิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรก และก็จะไม่เป็นครั้งสุดท้าย ตราบใดที่ธนาคารแห่งประเทศไทยยังอยู่ในโหมดที่เชื่อว่าตนเองมีความสามารถที่ จะรักษาระดับค่าของเงินบาทได้

ผม ได้เคยพูดไว้ว่า อาจถึงเวลาที่คนของแบงค์ชาติ (บางท่าน ) ต้องปรับความคิดของตนเอง ต้องเข้าใจสภาพตลาด ให้มากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน หลายประเทศเขายอมแพ้และยอมรับความเป็นจริงกันแล้วว่า นโยบายปกป้องค่าเงินที่สวนกับสภาพความเป็นจริง ทำได้ยากขึ้นทุกวัน และมีค่าใช้จ่ายสูง ครั้งนี้ธนาคารแห่งประเทศไทยขาดทุนอย่างน้อย 170,000 ล้านบาท

ข่าวที่รายงานจากสื่อระบุด้วยว่า ท่านรองผู้ว่ากล่าวว่า “เรื่องกำไร – ขาดทุน ไม่ใช่สิ่งสำคัญ” ผม หวังว่าสื่อคงจะลงข้อความผิด ท่านรองคงจะไม่ได้พูดอย่างนั้น เพราะความคิดว่ากำไร ขาดทุน ไม่สำคัญ ต้องเลิกกันได้แล้ว ไม่สำคัญได้อย่างไร กองทุนฟื้นฟูของแบงค์ชาติถลุงเงินไปประมาณ 1.2 ล้านล้านบาท สนองนโยบายสถาบันการเงินล้มไม่ได้ จำได้ไหมครับ หรือการปกป้องค่าเงินครั้งที่เศรษฐกิจล่มสลายเมื่อปีพ.ศ. 2540 แบงค์ชาติใช้เงินสำรองที่เป็นเงินตราต่างประเทศเพื่อปกป้องค่าเงินบาทจนหมด หน้าตัก เกิดการขาดทุนจนผู้ว่าการในขณะนั้นถูกฟ้อง เรียกเงินค่าเสียหายคืนให้กับรัฐ เหตุการณ์ผ่านมาไม่นาน ลืมกันไปหมดแล้วหรืออย่างไร

ผลขาดทุนที่เกิดขึ้นทุกครั้งจากการบริหารของแบงค์ชาติ ผู้ที่รับผิดชอบ มักจะอ้างว่าเป็นตัวเลขทางบัญชีบ้าง เป็นความจำเป็นที่หลีกเลี่ยงไม่ได้บ้าง ท้ายที่สุดเมื่อต้องชดใช้ค่าเสียหาย หนีไม่พ้น ต้องมาลงเอยที่เงินภาษี เงินงบประมานของแผ่นดินทุกครั้ง เถียงผมหน่อยซิ ว่าไม่จริง

ปกป้องค่าเงินมีค่าใช้จ่ายสูง อธิบายให้พอเข้าใจได้อย่างนี้ครับ

1. แบงค์ชาตินำเงินบาทมาซื้อเงินดอลล่าร์ เพื่อกดดันไม่ให้เงินบาทปรับค่าสูงขึ้น กระบวนการทำธุรกรรมนี้ คือการซื้อ spot และ ทำ swap เรียกรวมกันว่า การทำ forward ขอไม่ลงในรายละเอียด เข้าใจยาก แต่กรรมวิธีดังกล่าวทำให้แบงค์ชาติสะสมเงินดอลล่าร์สหรัฐเพิ่มขึ้น ตามรายงาน ปี 2549 ได้เงินสำรองเพิ่ม 15 ล้านเหรียญดอลล่าร์สหรัฐ เมื่อค่าเงินบาทเปลี่ยน ตัวเลขขาดทุนจึงเกิดขึ้น

2. ตามกระบวนการของข้อ 1. ทำให้เงินบาทในระบบมีมากขึ้น เงินบาทล้นระบบ ต้องดูดซับสภาพคล่องออกจากระบบ แบงค์ชาติต้องออกพันธบัตร เสียค่าใช้จ่ายเป็นค่าดอกเบี้ย ขาดทุนของจริง ไม่ใช่ตัวเลขทางบัญชี

เห็น ได้ว่า การขาดทุนหลีกเลี่ยงยาก คุ้มหรือไม่ ควรใช้นโยบายปกป้องค่าเงินหรือไม่ ปกป้องแล้วได้ผลหรือไม่ ทั้งหมดเป็นการวัดกึ้น วัดความสามารถของผู้บริหารแบงค์ชาติทั้งสิ้น

ความจริงไทยเราไม่ใช่หลงงมงายปกป้องค่าเงินแต่เพียงประเทศเดียวหรอกครับ หลายประเทศในเอเชีย ใช้แนวทางเดียวกัน คือพิมพ์เงินสกุลของตนเองแล้วนำมาซื้อเงินเหรียญดอลล่าร์สหรัฐ ประเทศจีน ประเทศญี่ปุ่น ทำกันทั้งนั้น

ที่น่าสนใจคือบางประเทศ ยิ่งทำ ยิ่งกำไร ตัวอย่างที่มีให้เห็นคือประเทศจีน วันนี้จีนมีเงินสำรองสูงถึง 1 แสนล้านเหรียญสหรัฐ เห็นตัวเลขแล้วท่านผู้อ่านคงเดาว่า ธนาคารชาติของจีนคงจะขาดทุนย่อยยับจากปฎิบัติการปกป้องค่าเงิน ผิดครับ

วันนี้ธนาคารกลางของประเทศจีน มีผลกำไรประจำปีสูงกว่าธนาคารพานิชย์ทั่วไป Citi Group หรือ Bank of America มีผลกำไรประจำปีประมาน 21,000 ล้านเหรียญดอลล่าห์สหรัฐ ขณะที่ธนาคารกลางของประเทศจีน มีกำไรสูงถึง 29,000 ล้านเหรียญดอลล่าห์สหรัฐ

ธนาคารกลางของประเทศจีนมีวิธีบริหารเงินสำรองอย่างมีประสิทธิภาพ การปกป้องค่าเงินทำให้ธนาคารขาดทุน ประมาน 26,000 ล้านหยวน ค่าใช้จ่ายในการดูดซับสภาพคล่องจากระบบอีกประมาณ 90,000 ล้านหยวน รวมขาดทุนเป็นเงิน 116,000 ล้านหยวน แต่เมื่อนำมารวมกับรายรับที่เกิดจากดอกเบี้ยที่มีอยู่สูงถึง 343,000 ล้านหยวน ทำให้มีผลกำไรสุทธิถึง 227,000 ล้านหยวน หรือ ประมาน 29,000 ล้านเหรียญดอลล่าร์สหรัฐ (รายละเอียดอ่านได้จากบทความตีพิมพ์ใน The Economist ฉบับลงวันที่ 25 มกราคม 2550 ครับ )

ผมนำเรื่องของธนาคารกลางของประเทศจีนมาเปรียบเทียบ อาจไม่เป็นธรรมกับธนาคารแห่งประเทศไทย เพราะเงินหยวนของจีนยังไม่ลอยตัว อัตราดอกเบี้ยของเงินหยวนก็ต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยของเงินเหรียญดอลล่าร์ สหรัฐ ทำให้บริหารไม่ยาก แต่ที่ต้องนำเรื่องนี้มาเปรียบเทียบเพราะต้องการที่จะบอกว่า กำไร ขาดทุน เป็นเรื่องสำคัญ

การปกป้องค่าเงินบาทในครั้งนี้นอกจากจะทำให้แบงค์ชาติขาดทุนอย่างน้อยถึง 170,000 ล้าน บาทแล้ว ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากนโยบายควบคุมเงินทุนไหลเข้า โดยเฉพาะความเสียหายของผู้ลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ มีมากมายมหาศาล ลุกลามไปถึงความรู้สึกของนักลงทุนต่างประเทศ ที่นำนโยบายนี้ไปผูกกับปรัชญาการดำรงชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง อย่างผิดๆ

เป็นการ บ้านที่ผู้บริหารแบงค์ชาติต้องคิดให้หนัก ผมมีความเห็นว่าถึงเวลาที่ท่านต้อง ช่วยรัฐบาล ช่วยท่านนายก ยกเลิกมาตรการควบคุมเงินทุนไหลเข้าได้แล้วครับ ใช้มาตรการปรับลดอัตราดอกเบี้ย เร่งเปิดเสรีการนำเงินออกนอกประเทศเพื่อใช้ในการลงทุนของนักธุรกิจ นักลงทุนไทย ท่านไม่มีเวลาที่จะรอต่อไปอีกแล้ว ตัดสินใจวันนี้ เดี๋ยวนี้ ก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินแก้ครับ.

แบ่งปันเรื่องราว:
  • Print
  • del.icio.us
  • Facebook
  • email
  • PDF
  • Twitter

Tags: ,

Comments are closed.

Twitter

TwitPic

    " width="70" height="70" style="margin: px; border: 1px solid cccccc;" class="twitpic" />

กอร์ปศักดิ์ สภาวสุ

กอร์ปศักดิ์ สภาวสุ
Korbsak.com
กอร์ปศักดิ์ สภาวสุ
เลขาธิการนายกรัฐมนตรี

ค้นหา