ดาวเทียมไทยคม ขอคืนได้ไหม?
วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2550
ท่านประธาน คมช. เอ่ยเรื่องนี้ขึ้นมา น่าจะเป็นข่าวไปอีกหลายวัน หลายคนสนับสนุนเพราะมีความเชื่อว่า วันนี้ดาวเทียมไทยคมได้ตกไปอยู่ในมือของต่างชาติแล้ว แน่นอนครับ เรื่องทั้งหมดนี้ หนีไม่พ้นผลพวงที่เกิดขึ้นจากการที่คนในตระกูลชินวัตรและดามาพงษ์ ขายหุ้นชินทั้งหมดให้กับหน่วยงานลงทุนของรัฐบาลสิงคโปร์ที่ชื่อเทมาเส็กนั่น เอง
ความจริงถ้าจะดูกันตามตัวอักษร ตามข้อกำหนดสัญญาสัมปทานแล้ว ดาวเทียมทั้ง5 ดวง บริษัทชินได้ยกกรรมสิทธิ์ของดาวเทียมทุกดวงให้เจ้าของสัญญาสัมปทาน กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (เดิมคือกระทรวงคมนาคม) หลังจากส่งดาวเทียมเข้าสู่ตำแหน่งวงโคจรและผ่านการทดสอบการใช้งานเรียบร้อย แล้ว ส่วนสถานีควบคุมดาวเทียมและอุปกรณ์ต่างๆ ได้ตกเป็นของกระทรวงหลังการจัดตั้งและทดสอบประสิทธิภาพเช่นกัน
สัญญาดำเนินกิจการได้ระบุไว้ด้วยว่า กระทรวงต้องมอบทรัพย์สินทั้งหมดนี้ให้บริษัทชินแซทเทลไลท์ จำกัด(มหาชน) ไปครอบครองเพื่อใช้ในการดำเนินกิจการ
ความกังวลของท่านประธาน คมช. ผมเดาว่าไม่ใช่เรื่องความต้องการดาวเทียมคืนหรอกครับ แต่ท่านไม่ต้องการให้การดำเนินกิจการดาวเทียมสื่อสารไปตกอยู่ในมือของนัก ลงทุนต่างชาติ โดยเฉพาะเป็นนักลงทุนที่แปลงร่างมาจากรัฐบาลต่างชาติ แบบที่พวกเรารู้ๆกันอยู่
ท่านประธาน คมช. กล่าวว่า อยากได้คืน แต่ยังไม่รู้ว่าจะทำอย่างไร
ผมค้นข้อมูลบางส่วนมาให้ท่านผู้อ่านได้ลองพิจารณา จะได้ช่วยท่านประธาน คมช. คิดหาทางออก บ้านเมืองช่วงนี้ต้องช่วยกันคนละไม้คนละมือครับ
เริ่มต้นกันที่ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทชินแซทเทลไลท์ จำกัด(มหาชน)
จากนั้นลองมาดูชื่อกรรมการบริหารครับ
ไม่เห็นชื่อต่างชาติแม้แต่คนเดียว เกิดอะไรขึ้น
ข่าวที่ว่าเทมาเส็กไม่ค่อยจะสนใจกิจการดาวเทียมมากนัก น่าจะมีมูล
เป็นเพราะอะไรครับ ตอบแบบนักธุรกิจได้เลยว่า กิจการดาวเทียมเพื่อการสื่อสารเป็นธุรกิจที่อาจกำไรดีแต่มีปัจจัยเสี่ยงสูง (high risk high return ) ผมจะไม่นำรายละเอียดมาประกอบคำอธิบายให้มากความ แต่จะนำข้อมูลเกี่ยวกับดาวเทียมที่เราอยากได้คืน มาเล่าให้ฟัง
ดูเรื่องอายุใช้งานกันก่อน ส่วนใหญ่ดาวเทียมจะมีอายุใช้งานประมาณ15 ปี ดาวเทียมที่ชื่อ ไทยคม1A และ ไทยคม 2 สองดวงนี้ สู่วงโคจรเมื่อปี 2536 ใช้งานมา 14 ปีแล้ว กำลังจะกลายเป็นเศษเหล็ก ส่วนไทยคม 3 เกิดปัญหาทางเทคนิค ต้องปลดระวาง ตัดบัญชีออกไป เหลือแค่ไทยคม 4 และ ไทยคม 5 ไทยคม 4 ไอพีสตาร์ น่าจะดังที่สุด มีเรื่องให้นินทามากที่สุด ถูกส่งขึ้นโคจรเมื่อเดือนสิงหาคม 2548 นี้เอง ยังใหม่ อายุใช้งานอีกกว่า 10 ปี ส่วนไทยคม 5 ปล่อยขึ้นสู่วงโคจรเมื่อเดือนกรกฎาคมปีที่ผ่านมา สดๆร้อนๆ เพื่อทดแทนไทยคม 3 ที่ถูกปลดระวางไป
ดูต่อครับ ดูรายได้ของบริษัทกันครับ กำไรไม่มาก ปี 2548 กำไร 1.383.72 ล้านบาท ปี 2549 ผมยังไม่เห็นตัวเลข แต่เชื่อว่าขาดทุน เนื่องจากความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการปลดระวางไทยคม 3 สำหรับเงินปันผลนั้นไม่ได้จ่ายมาหลายปีแล้ว จ่ายช่วงปี 2546 ได้เงินปันผลหุ้นละ 0.50 บาท หลังจากนั้นก็เงียบหายไป
ธุรกิจดาวเทียมใช้เงินลงทุนไม่น้อยครับ ( ไม่รวมไทยคม 5)
อาคารและอุปกรณ์ภายใต้สัญญาสัมปทานสุทธิ ณ 31 ธันวาคม 2548
ราคาหุ้นของบริษัทชินแซทเทลไลท์ จำกัด(มหาชน) ซื้อขายกันประมาน หุ้นละ 7-8 บาท นักลงทุนต่างชาติถือหุ้นในนามของบริษัทชิน ไม่เกิน 451 ล้านหุ้น ถ้าอยากได้ดาวเทียมนี้จริง ใช้เงินไม่น่าจะมากไปกว่า 5,000 ล้านบาทครับ
อ่านข้อมูลเบื้องต้นแล้วเห็นชัดว่า เรื่องดาวเทียมไม่น่าจะเป็นเรื่องใหญ่ใช่ไหมครับ
ไม่ครบถ้วนเสียที่เดียว เพราะผมยังไม่ได้พูดเรื่องที่สำคัญที่สุด
ตำแหน่งวงโคจรและการประสานงานความถี่ ครับ ตรงนี้ครับคือทรัพยากรของชาติที่แท้จริง ที่ต้องหวงแหน เพราะมีน้อย พื้นที่วงโคจรค้างฟ้าไม่ได้มีมากมายเหมือนที่คิดนะครับ แต่ละชาติก็แย่งกันทั้งนั้น รัฐบาลไทยให้นักธุรกิจนำไปใช้ทำประโยชน์ เราก็ต้องมั่นใจว่าประเทศจะได้รับประโยชน์สูงสุดและคุ้มค่า โดยเฉพาะต้องหวงแหน ไม่ให้ธุรกิจนี้ตกอยู่ในมือรัฐบาลต่างชาติ
เนื่องจากวงโคจรค้างฟ้าเป็นของส่วนรวม ต้องมีการจัดสรรให้ถูกต้อง องค์กรสหประชาชาติจึงทำหน้าที่เป็นผู้ดูแล มีหน่วยงานเฉพาะที่ดูแลเกี่ยวกับการสื่อสารโทรคมนาคมเป็นเจ้าภาพ ประเทศทั่วโลกเป็นสมาชิก เรียกกันว่าสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ประเทศไทยเป็นสมาชิกด้วยและกระทรวงไอซีทีทำหน้าที่เป็นตัวแทนรัฐบาลไทยในการ เจรจา
เข้าใจเรื่องนี้ง่ายที่สุด ต้องสมมุติกันหน่อย สมมุติว่าวันนี้ท่านผู้อ่านอยากจะลงทุน ประกอบธุรกิจกิจการดาวเทียมเพื่อการสื่อสาร ส่งดาวเทียมไปโคจรรอบโลก ทำได้ไหม
หลายปีที่ผ่านมา ท่านไม่มีสิทธิ ทำไมได้ เพราะสัญญากิจการดาวเทียมที่บริษัทชินลงนามไว้กับกระทรวงคมนาคมนั้น คุ้มครองบริษัทชินและห้ามผู้อื่นประกอบกิจการแข่งขันเป็นเวลา 8 ปี ถึงวันนี้ท่านผู้อ่านขอประกอบการได้แล้วครับ ธุรกิจนี้เปิดเสรีแล้ว
ขั้นตอนการขออนุญาตมีมาก เมื่อรัฐบาลเห็นชอบในโครงการของท่าน รัฐบาลยังต้องเจรจากับรัฐบาลต่างประเทศที่เป็นสมาชิก ข้อมูลทางเทคนิคของระบอบดาวเทียมของท่านต้องพร้อม กระทรวงไอซีทีจะต้องแจ้งความประสงค์เพื่อจองตำแหน่งวงโคจรดาวเทียมส่งไป ยังหน่วยงานของสหประชาชาติ ข้อมูลจะถูกส่งเวียนไปยังประเทศสมาชิก ถ้ามีการทักท้วง ก็จะเป็นเรื่องยาว กำหนดไว้ 4 เดือนครับ จะส่งดาวเทียมแต่ละดวงต้องทำอย่างนี้ทุกครั้ง
ถ้าท่านไม่ใช่คนที่ตั้งกระทรวงไอ ซี ที ไม่ใช่คนที่ตั้งรัฐมนตรีว่าการของกระทรวงนี้ด้วยมือ หรือแม้แต่ความพยายามที่จะส่งคนของตัวเองไปเป็นเลขาธิการสหประชาชาติ อย่าหวังเลยครับที่จะประกอบธุรกิจดาวเทียมได้อย่างสะดวกโยธิน
ช่วงที่เทมาเส็กซื้อหุ้นชิน รัฐบาลสิงคโปร์บอกว่าเป็นเรื่องของการลงทุนทางธุรกิจ ของภาคเอกชน ไม่เกี่ยวกับรัฐบาล วันนี้กระทรวงการต่างประเทศสิงคโปร์ได้ให้สัมภาษณ์พาดพิง แสดงออกชัดถึงความกังวล เวลาอาจเหมาะที่จะเริ่มคุยกัน
ผมมีข้อเสนอหาทางออกครับ
สัญญาสัมปทานดาวเทียมเพื่อการสื่อสาร ลงนามโดยกระทรวงคมนาคม ปัจจุบันโอนภารกิจนี้ไปที่กระทรวงไอซีที กับ บริษัทชินคอร์ป บริษัทเดียว หรือรวมบริษัทชินแซทเทลไลท์ จำกัด(มหาชน) ด้วย ตรวจสอบให้ชัดเจน เพราะเมื่อบริษัทชินคอร์ป เป็นคู่สัญญาสัมปทาน ไม่ใช่บริษัทชิน แซทเทลไลท์ โอกาสเรียกมานั่งเจรจาจะทำได้ง่ายกว่า บริษัทชิน แซทเทลไลท์ ไม่มีปัญหาเรื่องความเป็นบริษัทไทย แต่บริษัทชิน คอร์ป ถือได้ว่ายังเป็นลูกผีลูกคนอยู่
หัวใจของเรื่องนี้จึงอยู่ที่ บริษัทกุหลาบแก้ว ว่าเป็นบริษัทนอมินีหรือไม่ คดีความอยู่ที่กรมตำรวจ ทำท่าจะเงียบหายไป ถ้าเรื่องนี้ชัดเจน บริษัทชินคอร์ป จะกลายเป็นบริษัทต่างชาติ ผิดสัญญาสัมปทาน รัฐมีสิทธิยกเลิกสัญญาสัมปทานได้ แต่ถ้าจะสมานฉันท์ ไม่เอากันถึงตาย ก็นั่งโต๊ะเจรจา นักธุรกิจเจรจาได้อยู่แล้ว ประเด็นสำคัญอยู่ที่แนวทางการหาข้อยุติที่ทุกฝ่ายควรได้ประโยชน์ เรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับคนชื่อ ทักษิณ ชินวัตร ครับ
แหล่งข้อมูล: ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
แหล่งข้อมูล: ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
Tags: หุ้น