Archive | เศรษฐกิจ

G2G

Tuesday, December 8, 2009

G2G

บทความนี้เขียนขณะที่อยู่ระหว่างการเดินทางไปการ์ตาร์กับท่านนายกอภิสิทธิ์ ติดกับอยู่บนเครื่องประมาณ 7 ชั่วโมง วางแผนไว้ล่วงหน้าแล้วว่าจะใช้เวลาช่วงหนึ่ง เล่าให้ท่านผู้อ่านได้ทราบถึงยุทธ์ศาสตร์ของรัฐบาลในการขายสินค้าเกษตรที่รัฐฯ ได้ซื้อเก็บไว้เป็นจำนวนมหาศาล

1-2-3 GO (3G) ตอนจบ

Monday, November 9, 2009

1-2-3 GO (3G) ตอนจบ

เมื่อวันพุธที่ผ่านมา (4 พ.ย.)  ครม.เศรษฐกิจถกกันเรื่อง 3G ด้วยครับ   ท่านนายกอภิสิทธิ์นั่งหัวโต๊ะเป็นประธาน  กระทรวงไอซีทีเจ้าของเรื่องเป็นผู้นำเสนอ กระทรวงฯ ต้องการให้ครม.เศรษฐกิจเห็นชอบแนวทางการเดินหน้าต่อของทีโอทีในเรื่องของ 3G กทช.ถึงแม้จะเป็นองค์กรอิสระ  ก็ได้เข้าประชุมในวันนั้นเช่นกัน

พ่อมดการเงิน ราเกซ สักเสนา

Sunday, November 1, 2009

พ่อมดการเงิน ราเกซ สักเสนา

ผมได้พบนายราเกซ สักเสนา ครั้งแรกที่สนามกอล์ฟนวธานี ช่วงนั้นผมเป็นส.ส.สมัยแรก ปี 2529 สังกัดพรรคชาติไทย ท่านชาติชายหัวหน้าพรรคเป็นรองนายกฯ ก๊วนกอล์ฟในวันนั้นมีกันกว่า 30 คน ผมจำ นายราเกซได้แม่นก็เพราะนายราเกซจะใช้โทรศัพท์มือถือในระหว่างการเล่นกอล์ฟจน น่ารำคาญ โทรศัพท์มือถือสมัยนั้นเป็นระบบอนาล๊อก ใหญ่เทอะทะทีเดียว

1-2-3 GO (3G) ตอนที่ 2

Monday, October 26, 2009

1-2-3 GO (3G) ตอนที่ 2

ผมได้เล่าให้ฟังถึงปัญหาของ 3G ว่าไม่น่าจะเกิดได้เร็ว ได้พูดถึงอุปสรรคสำคัญคือความไม่แน่นอนของตลาด ไม่แน่ใจว่าผู้ใช้บริการจะมีมากพอรองรับใบอนุญาตที่อาจจะมีแจกกันถึง 4 ใบ ยังไม่นับส่วนของรัฐวิสาหกิจที่ได้รับใบอนุญาตไปแล้ว 1 ราย รวมทั้งความกังวลว่า ผู้ใช้ระบบ 2G ปัจจุบันจะเปลี่ยนเป็นระบบ 3G ในอนาคต ส่งผลให้รายได้ของรัฐฯน้อยลงอย่างมหาศาล และจะเป็นประเด็นทางการเมืองที่สำคัญที่สุด

1-2-3 GO (3G) ตอนที่ 1

Monday, October 19, 2009

1-2-3 GO (3G) ตอนที่ 1

19 ตุลาคม 2552 เสียง บ่นดังขึ้นทุกวัน ไทยล้าหลัง เขมรก็มี 3G ลาวก็มี 3G ไทยไม่เอาไหนเลย แค่นี้ยังไม่มีปัญญา เขาบ่นกันอย่างนี้ละครับ แล้วทำท่าว่าพี่ไทยจะไม่มีปัญญาจริงๆเสียด้วย ความ จริงเพื่อนบ้านไม่ได้เก่งกว่าเราหรอกครับ เพียงแต่เขาเพิ่งจะเริ่ม จึงสามารถพัฒนาเดินหน้าได้ง่ายและเร็วกว่า สร้างบ้านใหม่ ง่ายกว่าซ่อมบ้านเก่าให้เป็นบ้านใหม่ หลายครั้ง รื้อแล้วทำใหม่อาจดีกว่าเสียด้วยซ้ำ บ้าน เราเริ่มระบบไร้สายที่เรียกว่า 1G 30ปีมาแล้วครับ จำไม่ผิดน่าจะเป็นพ.ศ.2523 ตอนนั้นใช้ระบบอะนาล๊อก แล้วเปลี่ยนเป็น 2G ที่เรียกว่าดิจิตอล ในขณะนั้นโทรศัพท์คือโทรศัพท์ เม้าท์ได้อย่างเดียว ผ่านไปสักพัก พูดคุยไม่พอแล้ว ต้องทำอย่างอื่นได้อีก (SMS, MMS) มาถึงวันนี้ เริ่มใช้อี-เมล์ โหลดภาพ โหลดเพลง โหลดคลิปหนังได้ เรามีระบบ GPRS EDGE รองรับความต้องการ แต่เรายังไม่มี 3G ทำให้การบริการไม่สะดวกและรวดเร็วอย่างใจคิด เสียง บ่นเพราะอุตสาห์ซื้อเครื่อง 3G มาแต่ใช้ไม่ได้ มีแต่เครื่อง [...]

เสน่ห์ของเงินบาท

Monday, August 3, 2009

เสน่ห์ของเงินบาท

3 สิงหาคม 2552 ผมเริ่มเป็นสมาชิกบล๊อกเกอร์ของเนชั่นเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2550 พร้อมเขียนบทความเรื่องค่าเงินบาท http://www.oknation.net/blog/korbsak/2007/07/28/entry-1 ผ่านมาแล้ว 2 ปีพอดีครับ ค่าเงินบาทในวันนั้นกับวันนี้ต่างกันด้วยวันและเวลา แต่ปัญหาและสาเหตุเหมือนเดิมครับ ผมวิเคราะห์ค่าเงินบาทในวันนั้นขณะที่นั่งดูเหตุการณ์อยู่ข้างเวที วันนี้ผมกลายเป็นหนึ่งในตัวลครที่กำลังแสดงอยู่บนเวที ค่าของเงินบาทไม่ว่าจะแข็งโป๊กหรืออ่อนปวกเปียก จะเป็นหัวข้อที่มีผู้พูดถึงหรือวิพากย์วิจารณ์กันได้เกือบทุกเวทีทีเดียว คำถามคลาสสิกคือเงินบาทควรจะมีค่าอยู่ที่เท่าไหร่ คนที่ทำตัวเป็นกูรูมักจะกล้าตอบ ( สื่อจะถูกอกถูกใจมาก ) เพราะแสดงถึงความกล้าหาญชาญฉลาด และ(เชื่อว่า) รู้จริง ผมเองไม่มีความกล้าเลยในเรื่องนี้ จนด้วยเกล้า เพราะไม่รู้จริงๆว่าค่าเงินบาทควรจะเป็นเท่าไหร่ นึกแต่เพียงว่าถ้าค่าเงินบาทมีปัญหาเมื่อไหร่ ( อ่อนหรือแข็ง เกินไป ) สิ่งที่ควรทำคือต้องหาที่มาของปัญหา ถามผม ตอบได้เลยว่า ค่าเงินแข็งขึ้นเพราะมีเงินไหลเข้าประเทศมากกว่าเงินไหลออกนอกปรเทศ ( แปลว่ามีคนต้องการเงินบาทมากกว่าเงินดอลล่าห์ ) ถ้าบ้านเมืองเป็นปกติ เงินบาทแข็งคือยอดปราถนาของคนในประเทศ เพราะแสดงให้เห็นว่าประเทศค้าขายมีกำไร มีเงินดอลล่าห์นำมาขายแลกเป็นเงินบาทมาก คนไทยมีความมั่งคั่ง ไทยเข็มแข็ง แต่วันนี้บ้านเมืองไม่ปกติ เศรษฐกิจยังไม่ฟื้น เงินบาทแข็งคือสิ่งที่น่าเป็นห่วง จึงมีคำถามว่าทำไมมีเงินไหลเข้าประเทศมากกว่าเงินไหลออก ถ้าดูให้ลึกจะพบว่าเงินไม่ได้ไหลเข้าผิดปกติแบบเป็นนัยยะสำคัญ ธุรกิจที่นำเงินเข้าประเทศมากคือธุรกิจการท่องเที่ยวและการส่งออกยังไม่ดี ขึ้น รายได้ประเทศยังไม่เป็นไปตามเป้า [...]

ธนาคารแห่งประเทศไทย…ไชโย

Saturday, December 6, 2008

ธนาคารแห่งประเทศไทย…ไชโย

6 ธันวาคม 2551 ข่าวคณะกรรมการนโยบายการเงินของธปท.ตัดสินใจลดอัตราดอกเบี้ยลงครั้งเดียว ถึง ร้อยละ ๑ อาจทำให้หลายคนแปลกใจ แต่ถ้าท่านได้ลองดูแนวโน้มของอัตราดอกเบี้ยในต่างประเทศที่ผมนำมาแสดงนี้ก็ จะเห็นชัดว่า ท่านผู้ว่าการธปท.ของเรากำลังทำหน้าที่ไม่ต่างไปจากผู้กุมบังเหียนนโยบายการ เงินของประเทศอื่น ๆ เช่นกัน ผมถือว่าเป็นระฆังยกแรกที่เริ่มขึ้นในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของไทยที่ได้ เข้าสู่โหมด เศรษฐกิจถดถอย เป็นจังหวะการตัดสินใจที่ดีเพราะดูท่าว่าการเมืองอาจมีแนวโน้มที่ดีขึ้น หรืออย่างน้อยที่สุดคงไม่มีสภาพแย่ลงไปกว่าช่วงเวลาที่ผ่านมา รู้กันอยู่ว่านโยบายการเงินอย่างเดียวแก้ปัญหาไม่ได้ แต่การใช้นโยบายการคลังไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐ หรือมาตรการด้านภาษี เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการเมืองทั้งสิ้น ทำให้ไม่สามารถดำเนินการได้อย่างรวดเร็ว งานที่เกี่ยวกับการเมืองขยับตัวได้ช้าและยากลำบาก ทีมเศรษฐกิจของรัฐบาลใหม่จะมีรูปร่างหน้าตาอย่างไรและจะได้เริ่มทำงานอย่าง จริงจังเมื่อไหร่ ยังดูมืดมนอยู่ จึงต้องหวังที่จะได้เห็นท่านผู้ว่าการธนาคารเดินหน้าในการใช้นโยบายการ เงิน ในเชิงรุกเข้าแก้ไขปัญหาโดยเร็วเพื่อไม่ให้เศรษฐกิจของประเทศต้องทรุดหนักลง ไปกว่านี้อีก เพราะถ้าช้าไปจะทำให้แก้ไขยากจนอาจเกินกว่าจะเยียวยารักษาได้ ธปท.ต้องใช้ความเป็นอิสระที่เรียกร้องมานาน ทำหน้าที่อย่างเต็มกำลังและต้องพร้อมที่จะรับผิดชอบงานของบ้านเมือง จะมารอนักการเมืองคงจะไม่ได้ อีกเรื่องหนึ่งที่อดไม่ได้ที่จะดีใจ ไชโย ให้กับธปท. คือเรื่องการแทรกแซงค่าเงินบาทครับ ท่านผู้อ่านที่ติดตามค่าของเงินบาทคงจำกันได้ว่า ปีที่แล้วค่าเงินบาทแข็งตัวอย่างต่อเนื่อง เป็นผลพวงจากการอ่อนค่าของเงินสกุลดอลล่าร์สหรัฐ จำได้ใช่ไหมครับว่าผู้ส่งออกของเราโวยวายกันขนาดไหน ธปท.ในขณะนั้นต้องเข้าไปแทรกแซงค่าเงิน โดยการนำเงินบาทมาซื้อเงินดอลล่าร์ กว่า ๖ เดือนที่ค่าเงินวิ่งไปในทิศทางเดียว ธปท.แทรกแซงอย่างไรก็ไม่สำเร็จ ได้แค่ชะลอไม่ให้ค่าเงินผันผวนมากเกินไป ทำให้ธปท.ขาดทุนจากการแทรกแซงเป็นเงินนับแสนล้านบาท (มีดอลล่าร์อยู่ในมือมากและดอลล่าร์อ่อนค่าลงทุกวัน) แล้วมาถึงวันที่เศรษฐกิจสหรัฐพังพินาศ เศรษฐกิจถดถอยอย่างไม่เคยมีมาก่อน [...]

ประชาธิปไตยแบบไทยๆ ในสายตาฯ

Friday, November 28, 2008

ประชาธิปไตยแบบไทยๆ ในสายตาฯ

28 พฤศจิกายน 2551 ได้อ่านบทความเมื่อเช้า ( 27 พ.ย. ) นี้เองครับ อ่านแล้วไม่แปลกใจ แต่ก็ไม่สบายใจเอามากๆ ผมเป็นแฟนของ The economist มานานแล้ว ได้ความรู้มากขึ้นทุกครั้งเมื่ออ่านบทความที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจของโลก พูดคุยกับใครก็มักจะแนะนำหรืออ้างถึง The Economist มาโดยตลอด มาเริ่มติดใจก็ช่วงที่มีการปฏิวัติในประเทศเมื่อวันที่ 19 กันยายน สังเกตได้ว่าความเห็นทางการเมืองของ The Economist ที่เกี่ยวกับประเทศไทย มักจะเป็นไปในทางลบ มองในแง่ดีจับจุดยืนของ The Economist ได้ว่า ชื่นชมระบอบประชาธิปไตย จะเป็นของจริง จะเป็นของปลอมไม่ว่ากัน ขอให้มีการเลือกตั้งเป็นใช้ได้ จะซื้อเสียงขายเสียงหรือโกงเลือกตั้งก็ไม่เป็นไร The Economist มีความเห็นเสมอต้นเสมอปลายว่าถึงอย่างไรมีการเลือกตั้งดีกว่ามีการปฏิวัติ รัฐประหาร แต่ถ้ามอง The Economist ในแง่ร้าย ก็อาจเดาได้ว่า ล๊อบบี้ยิ้สต์ที่ช่วยงานด้านประชาสัมพันธ์ของ พ.ต.ท.ทักษิณทำงานได้ผลเป็นอย่างยิ่ง บทความการเมืองของ The Economist ( และอีกหลายฉบับ ) จะสนับสนุน [...]

เสน่ห์ของเงินบาท (ต่อ)

Sunday, September 28, 2008

เสน่ห์ของเงินบาท (ต่อ)

28 กันยายน 2552 ความกังวลของผมเกี่ยวกับค่าเงินบาทยังไม่ผ่อนคลาย บ่นให้ฟังไว้เมื่อต้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาครั้งหนึ่งแล้ว http://www.korbsak.com/talk_520803.htm วันนั้นเงินบาทมีค่า 33.99 บาทต่อ 1 เหรียญดอลล่าห์สหรัฐ ผ่านมาเกือบสองเดือน ค่าเงินบาทแข็งขึ้นไปอีก ยืนอยู่ที่ประมาณ 33.50 บาทต่อ 1 เหรียญดอลล่าห์สหรัฐ ขณะเดียวกัน เงินสำรองของประเทศที่เป็นเงินตราต่างประเทศเพิ่มขึ้นจาก $ 123,449 ล้าน เป็น $ 132,000 ล้าน นอกจากนั้นแล้วตัวเลขการเข้าแทรกแซงค่าเงิน ( spot และ swap ) เพิ่มจาก $ 11,366 ล้าน เป็น $ 14,152 ล้าน หรือประมาณ $ 3,000 ล้าน ( 100,000 ล้านบาท ) ภายใน 7 สัปดาห์ การแทรกแซงค่าเงินของธนาคารแห่งประเทศไทยก็เพื่อไม่ต้องการให้ค่าเงินบาท ผันผวนและแข็งค่ามากเกินไป ใช้เงินบาทไป [...]

เศรษฐกิจมีปัญหา ที่นี่มีคำตอบ

Monday, July 21, 2008

เศรษฐกิจมีปัญหา ที่นี่มีคำตอบ

21 กรกฎาคม 2551 กล้าหาญมากเลยครับที่จะอาสาแก้ปัญหาเศรษฐกิจในปัจจุบัน ขณะที่มีคนเป็นจำนวนไม่น้อยที่มีความเชื่อว่า เศรษฐกิจทุกวันนี้เทวดาหน้าไหนก็ช่วยไม่ได้ ที่ผมว่ามีคำตอบ แก้ไขได้ ผมมีข้อแม้นะครับ ข้อแม้คือทุกคนต้องร่วมมือกันและต้องเข้าใจเหมือนกันว่า เราไม่สามารถจะใช้ชีวิตแบบเดิมๆได้อีกต่อไป และต้องอยู่ด้วยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงแบบสุดๆ ๑ -๒ ปีเป็นอย่างน้อย ผมมีความเชื่อว่าอุปสรรคทำให้เราแกร่งและปัญหาทุกอย่างแก้ไขได้ วันนี้ผมจะขออนุญาตทำตัวเป็นคุณหมอ คนไข้ของผมคือพี่น้องประชาชนคนไทย ได้วินิจฉัยโรคแล้วผลปรากฎออกมาอย่างนี้ครับ คนไข้ผมมีปัญหาทั้งปัญหาในบ้านและปัญหานอกบ้าน สรุปได้ว่า o เพื่อนร่วมโลกมีความเป็นอยู่ดีขึ้น โดยเฉพาะเพื่อนๆในแถบเอเซีย ทำให้เกิดการแย่งชิงทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด แย่งกันกิน (ทำให้อาหารแพง) แย่งกันใช้ (ทำให้น้ำมันแพง) o ผลของการที่มีเพื่อนบ้านที่เคยจน ( เป็นพันล้านคน ) กลายเป็นคนที่มีฐานะดีขึ้นทำให้โลกประสบกับวิกฤติอาหารแพงและราคาพลังงานที่ สูงลิ่ว ก่อผลให้เกิดสภาพเศรษฐกิจตามมาที่เรียกกันว่า STAGFLATION แปลว่า เศรษฐกิจซบเซาพร้อมกับสินค้าราคาสูง อาการโรคแบบนี้ หมอกลัวที่สุด เพราะรักษายาก ยากเพราะเป็นอาการที่ฝืนธรรมชาติ ที่ว่าสวนทางกับธรรมชาติเพราะถ้าเศรษฐกิจซบเซา สินค้าต้องราคาถูก ( ไม่มีคนซื้อ ) แต่โรคนี้มีอาการตรงกันข้ามคือไม่มีคนซื้อแต่สินค้ากลับมีราคาแพง (เพราะต้นทุนสูง ) o คนไข้ของผมคนนี้มีปัญหาในบ้านที่หนักหน่วง ที่บ้านขาดความสามัคคี [...]

Twitter

TwitPic

    " width="70" height="70" style="margin: px; border: 1px solid cccccc;" class="twitpic" />

กอร์ปศักดิ์ สภาวสุ

กอร์ปศักดิ์ สภาวสุ
Korbsak.com
กอร์ปศักดิ์ สภาวสุ
เลขาธิการนายกรัฐมนตรี

ค้นหา