16 มิถุนายน 2551 ได้อ่านคอลัมน์ “ สกู๊ปหน้า ๑ ” ของหนังสือพิมพ์ไทยรัฐเมื่อวันที่ ๙ มิ.ย. พูดถึงนโยบายแก๊ส โซฮอล์ E85 ของรัฐบาล โดยแสดงความกังวลถึงวิธีการกำหนดราคาเอทานอลและกล่าวว่า “ ราคา เอทานอลที่คนไทยผลิตได้เองปลูกได้เอง แต่ราคาซื้อขาย ประเทศไทยอ้างราคาอิงบราซิล ” ทำให้อดคิดไม่ได้ว่า เรื่องการกำหนดราคาเป็นปัญหาใหญ่ ไม่เพียงแต่ราคาเอทานอลเท่านั้น เรายังมีข้าว ก๊าซธรรมชาติ แอลพีจี ( ก๊าซหุงต้ม ) ผลผลิตเหล่านี้เราผลิตได้เอง แต่ราคาในตลาดโลกสูงมาก จึงเป็นคำถามว่า เราจะกำหนดราคาในประเทศอย่างไรดี เพื่อให้คนไทยเจ้าของประเทศได้รับประโยชน์ สูงสุด ผมว่าถ้าเรานำรูปแบบของธุรกิจขนาดใหญ่มาเปรียบเทียบ อาจจะเห็นภาพได้ชัดขึ้น พวกเรากันเองก็เคยได้ยินบ่อยครั้งในวงสนทนาที่ชอบมีการเปรียบเทียบว่าบริหารประเทศให้ดี ต้องบริหารแบบภาคเอกชน ให้เปรียบประเทศเป็นบริษัท พูดกันมากจนทำให้เกิดความ “ อยาก ” ที่จะ หานักธุรกิจมาเป็นผู้นำประเทศ บริษัท…ประเทศ…จะได้เจริญมั่งคั่ง กำไรดี ประชาชนในฐานะเจ้าของ ประเทศ จะได้ร่ำรวยไปด้วย ผมไม่เห็นด้วยแต่ก็ชอบในข้อเปรียบเทียบนี้ เพราะถ้าพิจารณาให้ดี [...]
3 เมษายน 2551 ผมเคยรู้จักคุณสมัครครับ ผมใช้คำว่า “เคย” เพราะในสมัยหนึ่ง ผมเคยทำงานร่วมกับท่าน แต่ครั้งสุดท้ายที่ได้พบ พยายามหาโอกาสคาราวะท่าน ตอนนั้นท่านเป็นผู้ว่ากทม. แต่วันนั้นท่านไม่รับไหว้ มองแล้วก็ผ่านไป เหมือนกับว่าไม่เคยรู้จักหรือจำไม่ได้ คำว่า “ เคยรู้จัก ” คงไม่ผิดไปนัก ช่วงที่ได้มีโอกาสทำงานร่วมด้วย เป็นงานในสภา ท่านนั่งเป็นฝ่ายค้าน ผมก็อยู่ซีกฝ่ายค้านเหมือนกัน ตอนนั้นผมยังไม่ได้เข้าพรรคประชาธิปัตย์ จำได้ว่ามีการเตรียมการอภิปรายรัฐบาล ซีกฝ่ายค้านได้มีการรวมพลประสานงานเพื่อร่วมกันอภิปราย คุณสมัครเป็นโต้โผใหญ่ เป็นประธานการเตรียมการก็น่าจะพูดได้ ผมเป็นสมาชิกคนหนึ่งที่ได้เข้าร่วมประชุมด้วย มีการนัดประชุมนอกสภา หลังจากประชุมเสร็จ ท่านได้ขอให้ผมไปส่งท่าน เพราะวันนั้นท่านไม่ได้ขับรถมา ( ปกติชอบขับเอง ) ขณะนั่งรถ ท่านได้คุยกับผมหลายเรื่อง จำรายละเอียดไม่ได้ครับ เพราะนานกว่า ๑๐ ปีแล้ว แต่ที่จำได้แม่นคือ สิ่งที่ท่านพูด ท่านคิด แตกต่างจากภาพที่ผมเคยมองนักการเมืองอย่างท่านไว้อย่างสิ้นเชิง เป็นไปในทางที่ดี และผมประทับใจมากในวันนั้น มากถึงขนาดที่ว่า เมื่อท่านรับอาสาเป็นผู้ว่ากทม. ( ตอนนั้นผมเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์แล้ว ) ผมก็ยังให้การสนับสนุน จากสโลแกนที่ว่า [...]
18 มีนาคม 2551 คุณหมอที่กระทรวงการคลังตัดสินใจเสนอมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบสองโดยการ โยกงบประมาณจากเงินที่ได้มีการจัดสรรไว้โดยรัฐบาลขิงแก่ นำมาใช้ในโครงการ ตามนโยบายของพรรคพลังประชาชน และจะไม่เสนองบประมาณกลางปีเพื่อโยนเงินก้อนใหม่เข้าสู่ระบบ โดยให้เหตุผลว่าเวลาที่เหลือมีน้อยเกินไปเกรงว่าจะใช้เงินงบประมาณไม่ทัน และต้องการรักษาวินัยทางการคลังคือไม่ต้องการให้ขาดดุลงบประมาณมากจนเสีย วินัย เป็นการตัดสินใจของคุณหมอที่น่าเสียดายโอกาสครับ การจัดงบประมาณกลางปีเป็นขบวนการที่ต้องผ่านสภา คุณหมออาจจะเกรงว่าเสนองบประมาณเข้าสภาเป็นเรื่องใหญ่ ต้องผ่านแนวรบของฝ่ายค้าน เดี๋ยวจะบานปลาย ถ้าจำกันได้ สองสัปดาห์ที่ผ่านมา ฝ่ายค้านได้เสนอมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและลดค่าใช้จ่าย ของประชาชนโดยการจัดงบประมาณกลางปี เพื่อรัฐจะสามารถนำเงินก้อนใหม่มาบริหารได้ พูดง่ายๆก็คือ ถ้ารัฐบาลจะเสนอ พรบ.งบประมาณกลางปีเข้าสภา จะไม่มีแนวรบจากฝ่ายค้าน มีแต่แรงสนับสนุน หรือว่าเป็นเพราะฝ่ายค้านนำเสนอก่อน จึงไม่อาจทำตามได้ การเมืองมากเกินไปหรือเปล่า ที่ผมว่าเสียดาย เพราะวันนี้เรารอช้าไม่ได้ จำเป็นต้องเร่งให้เกิดการใช้จ่ายในประเทศให้มากขึ้นโดยเร็วที่สุด การกระตุ้นเศรษฐกิจโดยการใช้เงินเก่า เงินที่โยกมาจากโครงการอื่นๆ อาจช่วยให้งานของรัฐบาลได้ผลตรงเป้าตามนโยบาย บ้าง แต่จะไม่ช่วยให้เศรษฐกิจขยายตัวเพิ่มขึ้นจากที่เคยประเมินไว้ คงถกเถียงกันได้อีกนานว่ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลไปถูกทิศถูกทาง หรือไม่ เพราะกว่าจะรู้ผลต้องรอกันไปอีกอย่างน้อยก็ ๖ เดือนขึ้นไป วันนี้เราได้ยินนักวิเคราะห์คาดการณ์กันว่าประเทศกำลังพัฒนาแถบ เอเซีย น่าจะสามารถเอาตัวให้หลุดพ้นจากวิกฤตเศรษฐกิจถดถอยของมหาอำนาจอย่าง สหรัฐได้ เพราะประเทศเหล่านี้อยู่ในฐานะที่สามารถเร่งให้เกิดการใช้จ่ายในประเทศเพื่อ ทดแทนมูลค่าของการส่งออกไปสหรัฐที่จะหดตัวลง นักวิชาการใช้คำว่า decoupling หมายถึงเศรษฐกิจของโลก ไม่ได้ผูกติดกับเศรษฐกิจของประเทศยักษ์ใหญ่เช่นสหรัฐ เหมือนที่เคยเป็นมาในอดีต สหรัฐมีปัญหาไม่ได้หมายถึงประเทศอื่นๆจะถดถอย มีปัญหาตามไปด้วย [...]
6 มีนาคม 2551 ไม่ใช่เรื่องที่ว่าท่านผู้ว่าการจะโดนย้ายหรือไม่ เพราะนั่นเป็นเรื่องส่วนตัวของท่านผู้ว่า เรื่องที่สำคัญกว่า คือมาตรการการใช้เงินบาทซื้อเงินดอลล่าร์สหรัฐ เป็นมาตรการที่ธนาคารชาติดำเนินการในการปกป้องค่าเงินบาท ไม่ให้เงินบาทแข็งค่าเกินกว่าเป้าหมายที่ธนาคารวางไว้ ผมคุยเรื่องนี้ให้ฟังไว้หลายครั้ง หลายโอกาส ส่วนหนึ่งก็ด้วยความเป็นห่วง แต่ที่สำคัญกว่าคือต้องการให้ท่านผู้อ่านได้มีข้อมูลที่ครบถ้วน ผมนำตัวเลขที่บ่งบอกแก่เราว่า ธนาคารชาติได้นำเงินบาทมาซื้อเงินดอลล่าร์ สะสมไว้แล้วเป็นจำนวนเท่าใด เป็นตัวเลขระหว่าง เดือน กันยายน – เดือนมกราคม ของปี ๒๕๕๐ และ ๒๕๕๑ นำมาให้ดูเพื่อจะได้เปรียบเทียบให้ได้เห็นชัดๆว่า การแทรกแซงค่าเงินในวันนี้ ไม่ปกติ แตกต่างจากการแทรกแซงในอดีตอย่างสิ้นเชิง ตารางที่ ๑ ปี ๒๕๕๑ ดูจากบรรทัดที่ ๗ ตัวเลขซื้อล่วงหน้าสะสม เกือบ ๒๒,๐๐๐ ล้านเหรียญ หรือประมาณ ๘๐๐,๐๐๐ ล้านบาท ตารางที่ ๒ ปี ๒๕๕๐ ดูจากบรรทัดที่ ๗ ตัวเลขซื้อล่วงหน้าสะสม ๗,๖๙๐ ล้านเหรียญ หรือ ประมาณ ๒๖๐,๐๐๐ ล้านบาท [...]
22 กุมภาพันธ์ 2551 สังเกตให้ดีครับ นโยบายประชานิยมเป็นที่ชื่นชอบของประชาชนเพราะเป็นนโยบายของการ ”ให้ ” ที่เป็นรูปธรรมมากที่สุด รัฐบาลที่มีนโยบายถูกอกถูกใจประชาชน ประชาชนจะชื่นชอบและมักจะชมว่ารัฐบาลเก่ง ประชาชนไม่ต้องการที่จะรู้ราย ละเอียดว่าบริหารอย่างไร ขอเพียงว่าประชาชนจะได้อะไรเท่านั้น นโยบายให้ประชาชนกู้เงินได้โดยง่ายในรูปแบบของเงินกองทุน หมู่บ้านละ 1 ล้านบาท หรือการให้เงินแบบให้เปล่า ( SML )หมู่บ้านละ 3-4 แสนบาท ไม่ต้องการคนเก่งมีฝีมือมาบริหาร แค่จัดงบประมาณที่เป็นเงินภาษีส่งลงไปที่หมู่บ้านให้ทั่วถึงทุกหมู่บ้าน คะแนนนิยมก็ไหลมาเทมา ถ้าเงินงบประมาณมีไม่เพียงพอ กู้ใหม่ได้ ไม่มีอะไรยาก รัฐมนตรีจะแสนขี้เหล่ขนาดไหนบริหารงานได้ทั้งนั้น นโยบายรักษาพยาบาลฟรีก็ไม่ใช่เรื่องยากเช่นกัน เตรียมจัดหาเงินงบประมาณให้มากพอ เป็นใช้ได้ ถ้ารายได้จากภาษีขาดไปบ้าง ก็ไม่ต้องห่วง กู้อีก เป็นหนี้อีก ไม่เห็นมีใครจะรู้หรือจะกล่าวว่าอะไรได้ นโยบายนี้อาจบริหารเหนื่อยกว่ากองทุนหมู่บ้านเล็กน้อย เพราะผู้บริหารใช้เงินอย่างเดียวไม่ได้ ต้องบริหารให้การรักษาพยาบาลมีคุณภาพ จึงถือได้ว่ามีความยากขึ้นระดับหนึ่ง ส่วนนโยบายโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ถือได้ว่ารัฐบาลต้องมีฝีมือในการ บริหารมากกว่างานด้านอื่นๆที่กล่าวมาในเบื้องต้น ถ้ามีเงินงบประมาณเพียงพอที่จะนำมาใช้ในการก่อสร้างได้ ก็เบาหน่อย แต่ถ้าเป็นโครงการที่ต้องกู้เงินจากแหล่งทุนทั่วไปก็จะยากขึ้นอีกนิด อยู่ที่ว่ารัฐบาลค้ำประกันให้หรือไม่ ถ้ารัฐบาลใจแข็งไม่ค้ำประกันเงินกู้ให้ จะค่อนข้างหินมาก เพราะกู้ไม่ได้ง่ายๆ ส่วนใหญ่รัฐบาลมักจะใจอ่อน ยอมค้ำประกันให้ในท้ายที่สุด เราจึงมักจะเห็นความล่าช้าของโครงการขนาดใหญ่ ยิ่งถ้าแบ่งเค้กไม่ลงตัว [...]
3 กุมภาพันธ์ 2551 ผมอยู่กับการเมืองมานาน ได้ยินได้ฟังได้เห็นนักการเมืองบางคนพูดถึงเงินหรือใช้เงินแล้ว ไม่ว่าจะพบเห็นบ่อยครั้งเพียงใดก็ยังอดใจหายไม่ได้ เขามองเงินเป็นเศษกระดาษจริงๆ อาจเป็นเพราะเงินที่ผ่านมาในระบบของ การเมือง หามาง่าย จึงใช้กันอย่างง่ายๆ ถึงฤดูเลือกตั้ง เราได้ยินคำพูดที่ฟังแล้วไม่อยากจะเชื่อ ที่ได้ยินเกือบทุกครั้งคือค่าตัวส.ส.เพื่อใช้ในการหาเสียงเลือกตั้ง คนละ 10 -20 ล้านบาทอย่างนี้เป็นต้น คนทั่วไปฟังแล้วคงจะงง เพราะตนเองทั้งชั่วชีวิตกว่าจะเก็บหอมรอมริบมีเงินเป็นล้านได้ ต้องทำงานกันจนแก่จนเฒ่าเชียวละ นี่พูดถึงเฉพาะคนที่ทำมาหากินเก่งนะ สำหรับมนุษย์เงินเดือนทั่วไป มีเงินล้านเป็นเพียงแค่ฝันกลางแดดเท่านั้นเอง การเมืองระยะหลังยิ่งหนักข้อขึ้นไปอีก ล่าสุดข่าวว่านักการเมือง You -Know -Who (ขอใช้สำนวนในหนังสือของ แฮรี่ พอตเตอร์หน่อย ) จ่ายค่าตัวส.ส.คนละ 30 ล้านบาทให้กับพรรคการเมืองเพื่อเข้าร่วมรัฐบาล ตัวเลขออกมาเหยียบ 1,000 ล้านบาท ได้ยินได้ฟังข่าวอย่างนี้แล้ว ได้แต่ภาวนาขอให้เป็นเพียงข่าวปล่อยก็แล้วกัน ค่าของเงินที่จะคุยด้วยในวันนี้ต่างกับที่กล่าวไว้ในเบื้องต้นครับ เป็นเรื่องของค่าของเงินที่พวกเราคนธรรมดาหาเช้ากินค่ำรู้จัก ผมกำลังพูดถึงผลตอบแทนที่เราได้รับจากเงินสดที่เราถือไว้หรือดอกเบี้ย นั่นเอง ถ้าท่านถือเงินสดไว้ในมือ ท่านชอบที่จะเห็นอัตราดอกเบี้ยสูงเพราะเงินของท่านงอกเงยขึ้น แต่ถ้าท่านยืมเงินในอนาคตมาใช้จ่าย ท่านอยากให้ดอกเบี้ยต่ำ จะได้ไม่เป็นหนี้มากเกินกำลังที่จะใช้คืน อัตราดอกเบี้ยขึ้นหรือลง มีผู้ได้และผู้เสียผลประโยชน์ครับ ช่วงนี้เริ่มได้ยินเสียงเรียกร้องจากนักธุรกิจว่า ไทยควรจะต้องรีบตัดสินใจปรับลดอัตราดอกเบี้ย ความจริงเสียงเรียกร้องมีมานานแล้ว [...]
บทความนี้ ได้เขียนไว้นานแล้วครับ นำมาให้อ่านอีกครั้งครับ เพราะเข้ากับสถานการณ์ที่เป็นข่าวในช่วงนี้พอดี วัน ก่อนได้ยินแว่ว ๆ คำโฆษณาของ ปตท. ไม่แน่ใจเหมือนกันครับ ว่าเป็นสปอตวิทยุ หรือโทรทัศน์ ได้ยินเสียงโฆษณาคล้าย ๆ กับตั้งเป็นคำถาม ว่า “ มีคนถามว่ากำไรของปตท. กลับคืนไปที่ใคร” อะไรๆ ทำนองนี้แหละครับ ท่านผู้อ่านก็คงได้ยินและคงนึกในใจไม่ต่างกับผมเท่าไรว่า ถามทำไม ก็รู้ ๆ กันอยู่แล้วว่าใครเป็นเจ้าของ คนนั้นก็คือผู้ได้ประโยชน์จากผลกำไรที่เกิดขึ้น ถ้า ถามคำถามกันอย่างนี้ ก่อนหน้า ปตท.เข้า ซื้อ/ขาย ในตลาดหลักทรัพย์ คนไทยทั้งประเทศ คงตอบได้เหมือนกันหมดว่า “ กำไรเป็นของพวกเราครับ!” ทำไม รัฐบาลออกสปอตโฆษณาแบบนี้ ทำเพื่ออะไร ทำไมไม่พูดความจริง ทุกวันนี้ ผมมีความรู้สึกแปลก ๆ แปลกใจว่าเป็นแฟชั่นไปแล้วหรือ ที่คนเด่นคนดัง ผู้นำประเทศ ตั้งแต่ดาราไปจนถึงนายกรัฐมนตรีกันเลย มองพวกเราประชาชนคนไทย กินแกลบกันหรืออย่างไร ต้องไปดูกันครับว่า ใครคือผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของ ปตท.? กระทรวง การคลังแน่นอน [...]
31 ตุลาคม 2550 อ่านพาดหัวข่าวของสื่อเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม กันดูครับ โพสต์ ทูเดย์ …. ฉลองภพเบรกปชป. เลิก 30% วุ่นแน่ ส่วนของเว็บไซด์ ไทยรัฐ ……. เหน็บ ปชป.ผลีผลามเลิกสำรอง 30 % แปลความได้ว่า นโยบายเศรษฐกิจของพรรคปชป. ในส่วนที่เกี่ยวกับการยกเลิกมาตรการสุดโหดที่ออกโดยธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อควบคุมการไหลเข้าของเงินลงทุนจากต่างประเทศนั้น ท่านรัฐมนตรีเตือนว่าต้องระมัดระวัง ท่านไม่เห็นด้วย ถ้าไม่ใช่ช่วงของการแข่งขันทางการเมือง เรื่องอย่างนี้พรรคการเมืองต้องฟังและนำเหตุผลมาพิจารณา แต่ในขณะนี้เป็นช่วงการหาเสียง ความเห็นของรัฐมนตรีที่มีต่อนโยบายพรรคการเมือง กลายเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ต้องระมัดระวัง ทำให้เกิดความไม่เป็นธรรม ผมไม่มีทางเลือก ไม่อยากจะทะเลาะกับรัฐมนตรีหรอก แต่ต้องชี้แจงที่มาที่ไปของนโยบาย ไม่อยากให้เกิดความเข้าใจผิด ผมได้ชี้แจงไปอย่างนี้ครับ: ปัญหาที่รุมเร้าพี่น้องประชาชนในขณะนี้คือปัญหาที่ของกินของใช้แพงขึ้น ทุกวัน แถมด้วยปัญหาการว่างงาน เรียนจบมาก็หางานทำยากเต็มที นโยบายพรรคประชาธิปัตย์ที่ได้นำเสนอเป็นแนวทางเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว ทั้งปัญหาการว่างงานและปัญหาค่าครองชีพของประชาชน ปัญหาการว่างงาน : ขณะนี้การลงทุนในประเทศและจากต่างประเทศหยุดชะงัก ไม่ใช่เพราะปัญหาทางการเมืองแต่เพียงอย่างเดียว แต่เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นจากการที่นักลงทุนไม่มีความเชื่อมั่นในนโยบาย เศรษฐกิจของรัฐบาลโดยเฉพาะนโยบายการควบคุมการไหลเข้าของเงินลงทุนจากต่าง ประเทศ เราไม่เคยเห็นด้วยกับการใช้มาตรการทางการเงินที่รุนแรง เพื่อควบคุมการไหลเข้าของเงิน (มาตรการ [...]
14 สิงหาคม 2550 ผมว่าเราช้าต่อไปไม่ได้อีกแล้ว เราเสียเวลามามากแล้วครับ เราคงต้องเลิกบ่นว่าเราเกลียดทหารที่ปฎิวัติ ต้องเลิกพูดว่ารับรัฐธรรมนูญไม่ได้เพราะรัฐธรรมนูญร่างจากมือของคนที่ทหาร แต่งตั้ง เหตุการณ์ ปฎิวัติผ่านมาเกือบปีแล้ว ลืมมันเสีย เดินหน้าต่อกันเถอะครับ ผมเกลียดการปฎิวัติมากที่สุด ผมเสียดายที่เราไม่มีความอดทนพอที่จะรอให้เหตุการณ์สุกงอมและถ้าจะมีการ เปลี่ยนแปลงก็ต้องปล่อยให้เป็นไปตามระบบ ถ้าวันนั้นไม่มีการปฏิวัติ แต่เดินหน้ามีการเลือกตั้ง ให้การเลือกตั้งบริสุทธิ์ ยุติธรรม ไม่ให้มีการโกง ใครได้เสียงข้างมากก็ตั้งรัฐบาลไป ใครได้เสียงข้างน้อยก็ทำหน้าที่เป็นฝ่ายตรวจสอบ รัฐบาลเป็นใครก็ช่าง จะยุบสภา จะเลือกตั้งอีกกี่ครั้งกี่หนก็ต้องอดทน ถ้ามีความอดทนกันสักนิด ท้ายที่สุดเราจะไปรอด เพราะประชาชนไม่โง่ ให้เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์ฝีมือ ที่คุยนักคุยหนาว่าทำงานเก่ง ผลงานจะออกมาชัดว่าเก่งจริงหรือไม่ แต่เมื่อมันผ่านวันนั้นไปแล้ว จะมัวบ่น มัวต่อว่า มัวเดินขบวน ไม่ใช่การแก้ปัญหาที่ถูกวิธีอย่างแน่นอน เดินหน้าสู่สนามเลือกตั้งดีกว่า มีประชาธิปไตย มีรัฐบาลทำงานเพื่อประชาชนกันได้แล้ว เพราะโลกไม่ได้หยุดรอเรา ขณะที่เรากำลังถกเถียงว่าจะปกครองประเทศ หรือจัดการกับบ้านกับเมืองกันอย่างไร เหลียวดูคนอื่นกันสักนิดจะดีไหม คลื่นลูกใหม่ของเอเซีย จีนและอินเดีย กำลังเดินหน้าเต็มสูบ ใครก็รู้ว่าคนจีนเป็นคนขยัน ค่าแรงงานก็ถูก แถมมีผู้ปกครองประเทศที่ชาญฉลาด เล่ากันว่าโชเฟอร์ของผู้นำจีนขับเก่งคันงามมาถึงทางแยก เลี้ยวซ้ายไประบบเผด็จการคอมมูนิสต์ เลี้ยวขวาไประบบทุนนิยม โชเฟอร์หันถามท่านผู้นำว่าจะเลี้ยวไปทางไหน ท่านผู้นำบอกว่า ไม่มีปัญหา [...]
31 กรกฎาคม 2550 กล่าวกันว่าค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นมากในขณะนี้เกิดจากเงินดอลล่าร์ที่ ได้อ่อนค่าลงมามาก คงไม่ผิดหรอกครับ ลองดูกราฟที่ผมดึงมาจากเว็บ economist.com จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า เงินดอลล่าร์ต่ำค่ากว่าทุกครั้งในรอบสิบปีที่ผ่านมา ผู้เชี่ยวชาญให้เหตุผลไว้อย่างน่าสนใจว่า ช่วงไหนที่น้ำมันราคาแพง ค่าเงินดอลล่าร์จะวิ่งสวนทาง คืออ่อนค่าลง สาเหตุเพราะคนอเมริกันใช้น้ำมันมากกว่าชาวบ้านเขาทั้งหมด ส่วนพวกที่ขายน้ำมัน ได้เงินเป็นภูเขาเลากาเพราะราคาน้ำมันที่สูง ก็มักจะนำเงินที่ได้ไปจับจ่ายใช้สอยโดยการนำเข้าสินค้าจากยุโรปมากกว่าซื้อ จากอเมริกา เงินยูโรจึงมีแต่จะขยับขึ้นเมื่อเทียบกับดอลล่าร์ ถ้าเชื่อทฤษฎีนี้แปลว่าเงินบาทน่าจะแข็งต่อไป เพราะราคาน้ำมันไม่น่าจะถูกลง และเงินดอลล่าร์คงจะอ่อนตัวต่อเนื่องไปอีก อีกผู้เชี่ยวชาญบอกว่า ประเทศแถบเอเชียได้ตรึงค่าเงินของตัวเอง โดยการแทรกแซงเป็นผลให้มีดอลล่าร์สะสมไว้มากมาย (รวมทั้งพี่ไทยของเราด้วย ) และชอบปล่อยข่าวอยู่เสมอว่าจะเปลี่ยนการถือครองเงินสำรองที่เป็นดอลล่าร์ ไปเป็นเงินสกุลอื่นแทน นี่ก็เป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ค่าของดอลล่าร์อ่อนตัวลง สารพัดเหตุผลงัดกันขึ้นมาทำให้พวกอยากรู้อย่างผม ไม่ต้องหลับต้องนอน นั่งอ่านกันแต่บทความบทวิเคราะห์ ด้วยความอยากรู้ ท้ายที่สุดบอกตัวเองว่า ฟังหูไว้หูน่าจะดีกว่า ขอนินทานักเศรษฐศาสตร์หน่อยครับ หายากเหลือเกินที่จะมีความเห็นตรงกัน สู้วิศวะไม่ได้!! วันนี้แบงก์ชาติของพวกเราเริ่มมีแนวความคิดว่าจะบริหารเงินสำรองที่มี มากมายถึงกว่า 7 หมื่นล้านดอลล่าร์ หรือประมาณ 2.4 ล้านล้านบาทได้อย่างไร ที่เริ่มคิดเพราะตัวเลขขาดทุนสูงขึ้นทุกวัน ผมได้เคยแสดงความเห็นไว้แล้วว่าต้องรีบดำเนินการ ผ่านมา 3-4 เดือนแล้ว เพิ่งตีโจทย์แตก ผมขอเสนอแนวความคิดแบบกล้าคิดกล้าทำอีกสักครั้ง สุดขั้วหน่อย [...]