31 ตุลาคม 2549 อ่านบทความของ สำนักข่าวหัวเขียว ลงในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับวันที่ 28 ตุลาคม 2549 วิจารณ์นโยบายของรัฐบาลที่กำลังจะนำเสนอต่อสภา จับใจความได้ว่า อ่านนโยบายแล้วไม่เข้าใจ คล้ายกับว่า ไม่เป็นรูปธรรม ที่จับต้องได้ ต่อท้ายให้เครดิตพรรคประชาธิปัตย์ว่า นโยบายรัฐบาลที่เป็นรูปธรรม จับต้องได้ ก็ดันไปลอกแบบนโยบายของพรรคประชาธิปัตย์เสียอีก พลพรรค ปชป. ทั้งหลาย และแฟนพันธุ์แท้ ( รวมทั้งตัวผม) อ่านแล้วยิ้มแกล้มปริไปตามตามกัน ความจริงนโยบายที่พรรคประชาธิปัตย์นำเสนอ ไม่ใช่ของแปลก ไม่ใช่นโยบายที่หวือหวา ( ที่หวือหวานั้นมีครับ แต่ยังไม่ทันได้นำเสนอ ถูกไล่ลงเวทีไปเสียก่อน ) เพียงแต่พรรคปชป.เห็นว่าเป็นนโยบายที่รํฐบาล ไม่ว่าชุดไหน ถ้าได้คำนึงถึงประโยชน์ของประชาชนเป็นหลักแล้ว ( Putting the People First ) รัฐบาลนั้นต้องทำ วันนี้ต้องขอบคุณรัฐบาลครับ นโยบายที่ว่านี้มีอะไรบ้าง ที่เห็นกันอยู่ จัดอันดับได้อย่างนี้ครับ 1. รายได้ที่ได้จากการขายหวยบนดิน ให้นำเข้าสู่ระบบงบประมาณ ( รัฐบาลไทยรักไทย ไม่ทำ [...]
เขาแก้ปัญหากันอย่างนี้ครับ กลุ่มบริษัท เทมาเส็ก ได้ชวนคนไทยที่เป็นนักธุรกิจในประเทศมาเลเชีย เข้ามาชื้อหุ้นเพิ่มอีก 1 ราย จึงได้มีการเพิ่มทุนบริษัท กุหลาบแก้ว เป็นครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2549 การเพิ่มทุนครั้งนี้ เพิ่มจากทุน 3,800ล้านบาทเศษ เป็น 4 พันล้านบาทถ้วน ตัวเลขที่เพิ่มขึ้นดูแล้วไม่มาก ไม่ถือเป็นประเด็นสำคัญ ส่วนที่มีความหมายมากคือ การเพิ่มทุนครั้งนี้เปิดโอกาสให้นักลงทุนคนไทยที่ทำธุรกิจอยู่ในมาเลเซียคือ คุณสุรินทร์ อุปพัทธกุล กลายเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ฝ่ายไทย คือมีหุ้นอยู่ในมือถึง ร้อยละ 68 และเป็นการครอบครองหุ้นประเภทที่เรียกว่า หุ้นสามัญทั้งหมด ยกเว้นเพียง 1 หุ้น ที่เป็นหุ้นบุริมสิทธิ์ เท่านั้น คุณสุรินทร์ใช้เงินในการลงทุนครั้งนี้กว่า 2,700 ล้านบาท ที่ผมชื่นชมในการทำงานของท่านอธิบดีอรจิต ต้องชมแล้วชมอีก เพราะท่านตรวจสอบโครงสร้างการถือหุ้นของกุหลาบแก้ว โดยล้วงลึกเข้าไปดูเส้นทางที่ไปที่มาของเงินลงทุนอย่างจริงจัง ผลตรวจสอบปรากฏว่า เงินที่คุณสุรินทร์ อุปพัทธกุล นำมาลงทุนนี้ โอนมาจากบัญชีของบริษัท Fairmont Investment Group Inc. บัญชีนี้อยู่ที่ธนาคาร [...]
19 กันยายน 2549 กำลังเป็นที่สนใจกันอย่างมากครับ เกี่ยวกับเรื่องของกุหลาบแก้ว ชื่อนี้ได้ยินกัน ครั้งแรกในวันที่คนตระกูลชินวัตร – ดามาพงศ์ ประกาศการขายหุ้นบริษัทชิน เมื่อวันที่ 23 มกราคม ต้นปีนี้แหละครับ เป็นการเทกระจาดขายหุ้นทั้งหมดให้บริษัทเทมาเส็ก ของรัฐบาลสิงคโปร์ อุปสรรคกลายเป็นเพราะกฎหมายไทยมีข้อห้ามว่า บริษัท ชินต้องเป็นบริษัทไทยเท่านั้นเพราะธุรกิจของชินเกี่ยวข้องกับสัมปทานของรัฐ เกือบทั้งหมด ทุกสายตามุ่งไปที่ผู้ซื้อ คือ บริษัทซีดาร์โฮลดิ้ง ว่าเป็นไทยแท้จริงหรือไม่ ฝ่ายต่างด้าวชัดเจนว่าเป็นกลุ่มเทมาเส็ก แล้วฝ่ายไทยละเป็นใคร เศรษฐีจากที่ไหน พบว่าเป็นบริษัทที่ใช้ชื่อว่ากุหลาบแก้ว เป็นบริษัทของคนไทยแต่ไม่ใช่ไทยแท้ มีต่างด้าวถือหุ้นร่วมอยู่ด้วย เพราะความสลับซับซ้อน ไม่ตรงไปตรงมา ของวิธีการที่เป็นที่มาของโครงสร้างผู้ถือหุ้น ทำให้มีคนสงสัยกันมาก พวกเราที่พรรคประชาธิปัตย์ จึงมีหนังสือไปยังกระทรวงพาณิชย์ ขอให้ทำการสอบหาข้อเท็จจริง สัปดาห์ที่แล้ว ผลสอบตามข้อสงสัยของสาธารณะชน ปรากฎบนหน้าหนังสือพิมพ์ เท่าที่ผมเห็นก็มีอย่างน้อย 2 ฉบับ คือ ประชาชาติธุรกิจ และมติชน ผมเคยพูดไว้หลายครั้ง ว่าสื่อของเราเดี๋ยวนี้เก่ง พัฒนาไปมาก เป็นปากเป็นเสียง ทำหน้าที่ปกป้องผลประโยชน์ของประเทศอย่างดีเยี่ยม จากข้อมูลดังกล่าว ผมลองทำแผนภูมิมาให้ดูกันเล่นๆเพื่อจะได้เข้าใจในความสลับซับซ้อนของวิธีการ จัดทำโครงสร้างของการถือหุ้น เพื่อให้คงไว้ซึ่งความเป็นบริษัทไทยตามกฎหมายกำหนด [...]
16 สิงหาคม 2549 สองวันก่อนทีมเศรษฐกิจของไทยรัฐได้ลงบทความวิเคราะห์นโยบายของพรรค ประชาธิปัตย์ โดยมีข้อความสรุปในทำนองว่า “ประชาชนคงจะต้องเลือกระหว่างนโยบายของแท้ (ไทยรักไทย) หรือของเทียม (ประชาธิปัตย์)” ผมได้อ่านบทความนี้หลายรอบ และยอมรับว่าทีมเศรษฐกิจของไทยรัฐได้ลงรายละเอียดเกี่ยวกับนโยบายของ ประชาธิปัตย์ได้ดีพอควร แต่ในฐานะที่ผมมีส่วนเกี่ยวข้องในเรื่องนี้โดยตรง จึงกล้าพูดได้ว่ารายละเอียดน่าจะไม่ครบถ้วน ไม่ครอบคลุมทั้งหมด เป็นไปได้ว่าทีมงานประชาธิปัตย์ยังไม่มีโอกาสชี้แจงในรายละเอียดของนโยบาย ได้อย่างครบบริบูรณ์ คงจะต้องใช้เวลาพูดคุยกันอีกสักระยะหนึ่งครับ เราจะทำกันครับ เราจะตั้งโต๊ะเพื่อตอบคำถามในทุกๆเรื่องของนโยบาย เริ่มประมาณวันที่ 20 สิงหาคมนี้เป็นต้นไป จะเริ่มที่นโยบายขนส่งมวลชนก่อน และทุกๆ สัปดาห์จากนั้นไป ก็จะเข้าไปในนโยบายทุกๆด้านในเชิงลึก เพื่อให้พี่น้องประชาชนได้เข้าใจในสิ่งที่คุณอภิสิทธิ์และพรรคประชาธิปัตย์ ต้องการนำเสนอ ประชาชนจะได้สามารถตัดสินใจได้ว่า คุณอภิสิทธิ์และพรรคประชาธิปัตย์เหมาะสมและพร้อมที่จะเป็นทางเลือกให้เข้า มาบริหารบ้านเมืองหรือไม่ ขออนุญาตที่จะพูดถึงบทความของทีมเศรษฐกิจไทยรัฐหน่อยครับ สำหรับพรรคการเมือง อย่างประชาธิปัตย์ ไม่มีอะไรจะเป็นความปรารถนาสูงสุดมากเท่ากับได้ฟังคำวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยว กับนโยบายของพรรค เพราะการวิพากษ์วิจารณ์ถือได้ว่าเป็นกระจกเงาให้เราได้รับรู้ว่าคนอื่นเขา มอง เขาคิด เขาเห็นว่าสิ่งที่พรรคนำเสนอ มีข้อตำหนิ ข้อควรระมัดระวังอย่างไรบ้าง ผมสนใจในข้อตำหนิและคำวิจารณ์ในหลายเรื่อง บางประเด็นที่วิจารณ์ก็ไม่เข้าใจในเจตนาของผู้แสดงความเห็นเท่าไหร่นัก เช่น ทีมเศรษฐกิจของไทยรัฐกล่าวว่า น้ำมันอาจจะมีการปรับราคาสูงถึง 200 เหรียญสหรัฐต่อ 1 บาร์เรล การที่พรรคประชาธิปัตย์มีนโยบายลดราคาน้ำมันเพียง 2 [...]
22 สิงหาคม 2549 เช้าวันศุกร์ของวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2549 มีกลุ่มบุคคลกลุ่มหนึ่ง ประมาณ 50 คน เรียกกลุ่มตนเองว่า “ชมรม 30 บาทรักษาทุกโรค” ได้มารวมตัวกันหน้าที่ทำการพรรคประชาธิปัตย์อ่านแถลงการณ์แล้วสรุปได้ว่า ต้องการประท้วงและกล่าวหาคุณอภิสิทธิ์และพรรคประชาธิปัตย์ว่าเยียบย่ำภาษา ไทย ดูถูกโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค เพราะพรรคพรรคประชาธิปัตย์ เขียนข้อความเกี่ยวกับโครงการไว้ที่ขั้นบันใด แล้วเดินข้ามไปข้ามมา ต้องเล่าให้ท่านผู้อ่านฟัง เห็นไหมครับว่าการเมืองช่างเป็นเรื่องแปลกเสียเหลือเกิน เวลาเราขับรถบนถนน มีข้อความเขียนไว้บนพื้นถนน ห้ามเลี้ยวขวา เลี้ยวซ้าย หยุดรอ แม้กระทั่งเวลาท่านผู้อ่านก้าวขึ้นลงรถ BTS ก็จะมีตัวหนังสือเขียนบนทางขึ้นลง อยู่ทั่วไป ไม่มีใครด่าว่าใคร ว่าดูถูก เหยียบย่ำ ภาษาไทย พอพรรคประชาธิปัตย์ขยับตัวไม่ว่าจะทำอะไร จะมีการสร้างกระแส กล่าวหาพรรคเสียๆ หายๆ แต่เมื่อเป็นพรรคการเมืองก็ต้องทำใจครับ พอได้ยินว่ามีคนไม่เห็นด้วย เจ้าหน้าที่พรรคก็รีบนำตัวหนังสือนั้นออกทันที ที่นำเรื่องนี้มาเล่าให้ฟังก่อน เพราะต้องการให้เห็นว่าโครงการ 30 บาท รักษาทุกโรคนั้น มีคนชอบและถูกใจกันพอสมควร จึงมีการกล่าวหาว่าพรรคประชาธิปัตย์ จะยกเลิกโครงการนี้ [...]