เขาแก้ปัญหากันอย่างนี้ครับ กลุ่มบริษัท เทมาเส็ก ได้ชวนคนไทยที่เป็นนักธุรกิจในประเทศมาเลเชีย เข้ามาชื้อหุ้นเพิ่มอีก 1 ราย จึงได้มีการเพิ่มทุนบริษัท กุหลาบแก้ว เป็นครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2549 การเพิ่มทุนครั้งนี้ เพิ่มจากทุน 3,800ล้านบาทเศษ เป็น 4 พันล้านบาทถ้วน ตัวเลขที่เพิ่มขึ้นดูแล้วไม่มาก ไม่ถือเป็นประเด็นสำคัญ ส่วนที่มีความหมายมากคือ การเพิ่มทุนครั้งนี้เปิดโอกาสให้นักลงทุนคนไทยที่ทำธุรกิจอยู่ในมาเลเซียคือ คุณสุรินทร์ อุปพัทธกุล กลายเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ฝ่ายไทย คือมีหุ้นอยู่ในมือถึง ร้อยละ 68 และเป็นการครอบครองหุ้นประเภทที่เรียกว่า หุ้นสามัญทั้งหมด ยกเว้นเพียง 1 หุ้น ที่เป็นหุ้นบุริมสิทธิ์ เท่านั้น คุณสุรินทร์ใช้เงินในการลงทุนครั้งนี้กว่า 2,700 ล้านบาท ที่ผมชื่นชมในการทำงานของท่านอธิบดีอรจิต ต้องชมแล้วชมอีก เพราะท่านตรวจสอบโครงสร้างการถือหุ้นของกุหลาบแก้ว โดยล้วงลึกเข้าไปดูเส้นทางที่ไปที่มาของเงินลงทุนอย่างจริงจัง ผลตรวจสอบปรากฏว่า เงินที่คุณสุรินทร์ อุปพัทธกุล นำมาลงทุนนี้ โอนมาจากบัญชีของบริษัท Fairmont Investment Group Inc. บัญชีนี้อยู่ที่ธนาคาร [...]
19 กันยายน 2549 กำลังเป็นที่สนใจกันอย่างมากครับ เกี่ยวกับเรื่องของกุหลาบแก้ว ชื่อนี้ได้ยินกัน ครั้งแรกในวันที่คนตระกูลชินวัตร – ดามาพงศ์ ประกาศการขายหุ้นบริษัทชิน เมื่อวันที่ 23 มกราคม ต้นปีนี้แหละครับ เป็นการเทกระจาดขายหุ้นทั้งหมดให้บริษัทเทมาเส็ก ของรัฐบาลสิงคโปร์ อุปสรรคกลายเป็นเพราะกฎหมายไทยมีข้อห้ามว่า บริษัท ชินต้องเป็นบริษัทไทยเท่านั้นเพราะธุรกิจของชินเกี่ยวข้องกับสัมปทานของรัฐ เกือบทั้งหมด ทุกสายตามุ่งไปที่ผู้ซื้อ คือ บริษัทซีดาร์โฮลดิ้ง ว่าเป็นไทยแท้จริงหรือไม่ ฝ่ายต่างด้าวชัดเจนว่าเป็นกลุ่มเทมาเส็ก แล้วฝ่ายไทยละเป็นใคร เศรษฐีจากที่ไหน พบว่าเป็นบริษัทที่ใช้ชื่อว่ากุหลาบแก้ว เป็นบริษัทของคนไทยแต่ไม่ใช่ไทยแท้ มีต่างด้าวถือหุ้นร่วมอยู่ด้วย เพราะความสลับซับซ้อน ไม่ตรงไปตรงมา ของวิธีการที่เป็นที่มาของโครงสร้างผู้ถือหุ้น ทำให้มีคนสงสัยกันมาก พวกเราที่พรรคประชาธิปัตย์ จึงมีหนังสือไปยังกระทรวงพาณิชย์ ขอให้ทำการสอบหาข้อเท็จจริง สัปดาห์ที่แล้ว ผลสอบตามข้อสงสัยของสาธารณะชน ปรากฎบนหน้าหนังสือพิมพ์ เท่าที่ผมเห็นก็มีอย่างน้อย 2 ฉบับ คือ ประชาชาติธุรกิจ และมติชน ผมเคยพูดไว้หลายครั้ง ว่าสื่อของเราเดี๋ยวนี้เก่ง พัฒนาไปมาก เป็นปากเป็นเสียง ทำหน้าที่ปกป้องผลประโยชน์ของประเทศอย่างดีเยี่ยม จากข้อมูลดังกล่าว ผมลองทำแผนภูมิมาให้ดูกันเล่นๆเพื่อจะได้เข้าใจในความสลับซับซ้อนของวิธีการ จัดทำโครงสร้างของการถือหุ้น เพื่อให้คงไว้ซึ่งความเป็นบริษัทไทยตามกฎหมายกำหนด [...]
30 กรกฎาคม 2549 เรื่อง ที่ผมจะคุยให้ฟังวันนี้เป็นเรื่องร้ายแรง ดำเนินการโดยกลุ่มบุคคลกลุ่มหนึ่ง ร่วมมือกับข้าราชการของรัฐบางคน ปล้นชาติ ค้นคิด วางแผนการโกงอย่างแยบยล ท่านผู้อ่านที่ติดตามวิธีการโกงที่มีการนำมาใช้ในช่วงการบริหารราชการแผ่น ดินของรัฐบาลภายใต้การนำของคุณทักษิณ อาจไม่แปลกใจ หลายท่านเมื่ออ่านบทความนี้แล้ว อาจนึกในใจอย่างประชดประชันเสียด้วยซ้ำว่า โกงแบบเดิม ๆ อีกแล้ว ขบวนการ โกงนี้เริ่มประมานกลางปี พ.ศ. 2548 และท้ายที่สุดได้มีการลงนามสัญญาว่าจ้างเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2549 เป็นช่วงเวลาของรัฐบาลรักษาการ เป็นช่วงเวลาของการเว้นวรรคทางการเมืองชั่วคราวของคนชื่อ ทักษิณ ชินวัตร ตัวละครที่เกี่ยวข้องได้แก่ 1. บริษัทท่าอากาศยานไทยจำกัด (AOT) เป็นรัฐวิสาหกิจ จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ บทบาทสำคัญในฐานะเป็นผู้ว่าจ้าง 2. บริษัทไทยแอร์พอตส์ กราวด์เซอร์วิสเซส จำกัด (TAGS) เป็นบริษัทเอกชนที่ร่วมลงทุนกับ AOT บทบาทสำคัญคือ เป็นผู้รับจ้างที่ได้งานในโครงการสนามบินสุวรรณภูมิโดยไม่มีการประมูล แข่งขัน 3. บริษัท โฟรบิชเซอร์ เป็นบริษัทจดทะเบียนในประเทศ สิงคโปร์ เป็นนักลงทุนต่างประเทศที่ได้เข้ามากว้านซื้อหุ้นจากผู้ถือหุ้นเดิมของ TAGS และปัจจุบันกลาย [...]